ทำไมการทำ Digital Transformation ต้องเริ่มที่ Pain Point

ทำไมการทำ Digital Transformation ต้องเริ่มที่ Pain Point

ทำที่บ้าน

ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านคงมีความคิดอยากจะเริ่มทำ Digital Transformation กันใช่ไหมล่ะครับ หรือสำหรับท่านที่พยายามลงมือทำกันไประยะหนึ่งแล้ว บางครั้งเราอาจจะพบว่าการพยายามหาจุดเริ่มต้นว่าเราควรลงมือทำอะไรก่อน มักเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย ในวันนี้ ASAP Project อยากจะชวนทุกคนกลับมามองที่รากของการทำ Digital Transformation ซึ่งนั่นก็คือ ปัญหา หรือ Pain point ในธุรกิจนั่นเอง

ทำไมต้องเริ่มที่ Pain Point?

1. เพราะทุก Innovation ล้วนแล้วแต่เริ่มจากปัญหา

การเริ่มต้นการทำ Digital Transformation จาก Pain Point เป็นการเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะจะทำให้เราเข้าใจถึงเหตุผลที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง และหาทางออกที่เหมาะสมให้กับปัญหาดังกล่าวได้ เราจะรู้ว่าเรากำลังพยายามแก้ปัญหาอะไร เพื่ออะไร ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นเป้าหมายที่ชัดเจน และสำคัญที่สุดคือสามารถวัดผลได้ ว่าสิ่งที่เราพยายามทำนั้นมี impact ต่อปัญหาเริ่มต้นอย่างไร เพิ่มยอดขายได้ไหม กระบวนการผลิต มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไหม ทีมงานของเรา happy ขึ้นหรือเปล่า 

2. ปัญหาที่ชัดเจนจะสร้างกรอบและโฟกัสที่ชัดเจน

Pain Point ที่ชัดเจนจะเป็นตัวกำหนดกรอบและทิศทางในการหาวิธีแก้ปัญหา ทำให้การทำ Digital Transformation นั้นง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้น เพราะคุณจะสามารถโฟกัสกับปัญหา และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่หลงทางหรือเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการมองหา Software หรือพัฒนา Software ที่ไม่ตอบโจทย์หรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง

3. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้มีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น 

การระบุ Pain Point ที่ชัดเจนจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน ว่าการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้ชีวิตการทำงาน หรือชีวิตในออฟฟิศของพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจในการขอความร่วมมือและแรงสนับสนุนจากทีมงานที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น เมื่อผู้มีส่วนร่วมเห็นประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม พวกเขาจะมีแรงจูงใจในการปรับตัวและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น

เมื่อพบ Pain Point ที่ชัดเจนแล้วต้องทำอย่างไรต่อ? 

เมื่อเราได้ระบุ Pain Point ได้แน่ชัดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำข้อมูลนี้มาใช้ในการวางแผน คัดเลือก Software หรือพัฒนา Solution สำหรับการทำ Digital Transformation โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

1. วิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก: ศึกษาและวิเคราะห์ Pain Point อย่างละเอียดเพื่อเข้าใจรากของปัญหาที่เป็นต้นเหตุ และมองหาโอกาสในการพัฒนาและจัดการมัน

2. ระดมสมองจดรายการความต้องการ (Requirements): ชวนทีมงานที่เกี่ยวข้องมาแชร์ถึงปัญหา และความต้องการอันเกิดจากปัญหาดังกล่าว เพื่อรวบรวมเป็นรายการความต้องการ และนำไปใช้เป็นปัจจัยในการพิจารณาคัดเลือก Software หรือ Solution ที่ตอบโจทย์ต่อไป

3. คัดเลือกและพัฒนา: เมื่อเราได้รายการความต้องการ (Requirement) ที่ครบถ้วนแล้ว เราก็สามารถนำรายการดังกล่าวมาใช้เป็นเกณฑ์การคัดเลือก Software Solution ต่างๆ ว่าผู้ให้บริการแต่ละรายสามารถทำงานได้ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่า นอกเหนือจากความสามารถของ Software Solution นั้นๆ แล้ว คุณก็ไม่ควรที่จะละเลยปัจจัยสำคัญอื่นๆ อย่างเช่น งบประมาณ ระยะเวลา ความสามารถในการขยายตัว และคุณภาพการให้บริการหลังการขายเช่นกัน

4. ขึ้นระบบและวัดผล: เมื่อคุณได้ Software Solution ที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ก็จะนำไปสู่กระบวนการขึ้นระบบที่ทางผู้ให้บริการจะเข้ามาศึกษารูปแบบการทำงานและทำการตั้งค่า ตลอดจนให้คำแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้กระบวนการทำงานแบบใหม่ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่เดี๋ยวก่อน อย่าลืมกลับไปวัดผลดูนะครับว่าผลลัพธ์สุดท้ายนั้น ช่วยคลี่คลายปัญหา หรือ Pain point ที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ ดังนั้น การที่เราระบุ Pain point ที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ก็จะทำให้เราสามารถวัดผลความสำเร็จของการทำ Transfomation ได้ง่ายชัดเจนเช่นกัน

การทำ Digital Transformation ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีอะไรมาใช้ก็ได้ แต่ Software Solution เหล่านั้นจะต้องช่วยให้คุณแก้ปัญหาและก้าวข้าม Pain Point ของธุรกิจไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้อย่างแท้จริง

หากใครกำลังมองหาคนที่จะช่วยวางแผนการทำ Transformation ในการนำระบบเข้ามาใช้ หรือคัดเลือกระบบที่เหมาะสม ติดต่อ ASAP Project ที่ hello@asapproject.co หรือ www.asapproject.co เพื่อรับคำปรึกษาเบื้องต้นได้เลย!