คุยกับ 9 เจ้าของร้าน OfficeMate Plus+ กับวิธีคิดและสิ่งที่เรียนรู้ในการทำธุรกิจ

คุยกับ 9 เจ้าของร้าน OfficeMate Plus+ กับวิธีคิดและสิ่งที่เรียนรู้ในการทำธุรกิจ

ทำที่บ้าน

“สร้างธุรกิจไว ให้ทุกธุรกิจวิน” นอกจากจะเป็นกลยุทธ์ที่ OfficeMate ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ใช้เป็นจุดยืนเพื่อตอบโจทย์ให้ลูกค้าลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาแล้ว ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญของ OfficeMate Plus+ ในการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตได้ไวและมีกำไรอย่างยั่งยืนอีกด้วย 

OfficeMate Plus+ คือร้านแฟรนไชส์อุปกรณ์สำนักงานเพื่อธุรกิจ ที่เมื่อเดินเข้าไปในร้านจะพบกับสินค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำนักงาน ไอที เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์โรงงาน ฯลฯ พร้อมด้วยระบบดูแลลูกค้าที่มีมาตรฐานเหมือน OfficeMate มาเอง และได้เปิดให้บริการแล้วกว่า 70 สาขา ในทุกภูมิภาคทั่วไทย 

‘ทำที่บ้าน’ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เจ้าของร้านแฟรนไชส์ OfficeMate Plus+ จำนวน 9 สาขา จากหลากหลายภูมิภาค ซึ่งมีพื้นเพที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือทายาทกิจการครอบครัว

พวกเขาได้เล่าถึงที่มาที่ไปในการตัดสินใจเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์กับ OfficeMate Plus+ และบทเรียนที่แต่ละคนได้รับให้เราฟัง ซึ่งแต่ละคน มีคำตอบในการตัดสินใจและสิ่งที่เรียนรู้จากการทำธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป และนี่คือบทเรียนจากทั้ง 9 คน

คุณแวน - วราภร อินทร, สาขา ธัญบุรี คลอง 6

1. จุดเริ่มต้นมาจาก “ระบบ”

“เหตุผลที่เลือก OfficeMate Plus+ เพราะว่าสำนักงานใหญ่มีการสนับสนุน ประสานงาน การติดต่อภายใน และระบบการจัดการที่มืออาชีพมากๆ ค่ะ และมีสินค้าที่หลากหลาย ช่วยให้เราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มธุรกิจ กลุ่มโรงงาน กลุ่มโรงเรียน โรงพยาบาลค่ะ” — คุณแวน - วราภร อินทร, สาขา ธัญบุรี คลอง 6

“OfficeMate ค่อนข้างมีระบบที่ครอบคลุม ตั้งแต่การสั่งซื้อ การเทรนพนักงาน ระบบการจัดการหลังบ้าน การจัดการขาย ระบบให้ข้อมูลพนักงาน ระบบให้ข้อมูลลูกค้า ระบบการเงิน ระบบบัญชีทุกอย่าง” — คุณแต๋ง - ฐิติตา จียาศักดิ์, สาขาตลาดไท ปทุมธานี 

เช่นเดียวกับคุณมุ้ย - ทิวากุล เพ็ญศรี วอสสัน, สาขากบินทร์บุรี ปราจีนบุรี ที่เลือก OfficeMate Plus+ ด้วยเหตุผลเรื่องความพร้อมและความเชี่ยวชาญของทีมงาน ทั้งระบบหน้าบ้านและหลังบ้าน ที่สร้างความมั่นใจให้กับคุณมุ้ยว่าจะพาธุรกิจเติบโตไปได้ในอนาคต

คุณปิง - ธนกร ประยูรกรด, สาขาเมือง ลพบุรี 

2. เลือกแบรนด์ที่ “เข้มแข็ง” เพื่อเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

“เนื่องจาก OfficeMate เป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างแข็งแรง น่าเชื่อถือ เมื่อเปรียบเทียบว่า หากเราเป็นร้านเครื่องเขียนท้องถิ่น การที่เราจะเข้าไปหาลูกค้าก็อาจเป็นเรื่องยาก แต่พอเป็น OfficeMate แบรนด์ของเขาจึงเป็นตัวช่วยให้เราเข้าหาลูกค้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้น” — คุณมด - ยิ่งวรรณ คันธกุลดุษฎี, สาขาเมือง สุรินทร์

“OfficeMate Plus+ เป็นแบรนด์ในเครือของเซ็นทรัล ซึ่งเซ็นทรัลก็มีความน่าเชื่อถือ และมียอดขายที่มั่นคงอยู่แล้ว เราจึงคิดว่าเขาน่าจะช่วยเราประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ ซึ่งสองธุรกิจเดิมของเรามีฐานลูกค้าที่เป็น B2B อยู่แล้วจำนวนหนึ่ง เราก็คิดว่ามันน่าจะสอดคล้องกับธุรกิจ OfficeMate Plus+ ที่มีการขายสินค้า B2B เช่นเดียวกัน” — คุณปิง - ธนกร ประยูรกรด, สาขาเมือง ลพบุรี 

นอกจากนี้ คุณแต๋ง ยังบอกกับเราว่า แบรนด์ OfficeMate ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในแวดวงของบริษัททั่วไปอยู่แล้ว จึงจุดประกายว่า ถ้าเราจะเลือกสิ่งของมาขาย ก็ต้องเปิดร้านแล้วขายได้เลย ไม่ต้องสื่อสารมากมาย และ OfficeMate ก็เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงตามที่ต้องการพอดี เป็นผลให้คุณแต๋งตัดสินใจเลือกได้ง่ายมากขึ้น

คุณซัน - โสฬส เตียวเดชวรรณ, สาขาเมือง ราชบุรี 

3. ต่อยอดจากธุรกิจที่ทำ

“เราเลือกกันว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราจะมาเปิด ต้องสนับสนุนธุรกิจที่เราทำ หรือว่าธุรกิจที่ทำอยู่ไปสนับสนุนแฟรนไชส์ด้วย ตอนที่เราเลือก OfficeMate เราคิดว่า โรงงานเราเอง หรือที่กรุ๊ปเรา มีการซื้อของจาก OfficeMate อยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจต้องใช้ทั้งเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเขียน อุปกรณ์สำนักงาน ก็เลยคิดว่าอุปกรณ์พวกนี้สามารถเอามาใช้กับลูกค้าในกรุ๊ปของเราได้ด้วย” — คุณซัน - โสฬส เตียวเดชวรรณ, สาขาเมือง ราชบุรี 

“เราทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายพวกอุปกรณ์ก่อสร้างอยู่ แล้วลูกค้าชอบมาถามหาวัสดุสำนักงานต่างๆ และบังเอิญไปเห็นในโฆษณาว่า OfficeMate Plus+ มีทำแฟรนไชส์ ซึ่งน่าสนใจ และรู้สึกว่ามันตอบโจทย์กับธุรกิจของเราที่ทำอยู่ตอนนี้” — คุณเดียร์ - ชีวานันท์ รสหอม, สาขาบางละมุง ชลบุรี

คุณมุ้ย - ทิวากุล เพ็ญศรี วอสสัน, สาขากบินทร์บุรี ปราจีนบุรี

ส่วนคุณมุ้ยเล่าว่า เราได้เรียนรู้กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ จากเดิมที่เรามีความรู้ด้านไอทีอยู่แล้ว ตอนนี้เราก็มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องเขียนเพิ่มมา เราก็นำมาผสมผสานแล้วก็ประยุกต์ใช้ รวมถึงระบบการบริหารสต๊อก ระบบการบริหารสินค้าหน้าร้าน ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น

คุณเมย์ - ธัญรัตน์ คูเพ็ญวิจิตตระการ, สาขาซีเค พลาซ่า ระยอง

4. ธุรกิจที่แข่งขันในตลาดได้ในระยะยาว

คุณเมย์ - ธัญรัตน์ คูเพ็ญวิจิตตระการ, สาขาซีเค พลาซ่า ระยอง ได้เสนอแนวคิดในการตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ไว้ 2 แบบ คือ เลือกธุรกิจที่แข่งขันได้ และเลือกแฟรนไชส์ที่ยั่งยืน

“ตอนนั้นร้านเครื่องเขียนในปลวกแดงไม่ค่อยมี และร้านที่มีราคาก็ค่อนข้างสูง ดังนั้น เราเลยมองเห็นโอกาส จึงมองหาธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้และมี Branding ที่น่าเชื่อถือ”

“เวลาเราลงทุน เราจะมองระยะยาวมากกว่า ดังนั้น เราจึงไม่มองแฟรนไชส์หรือธุรกิจที่เป็นกระแสระยะสั้น แต่มองหาธุรกิจที่สามารถแข่งขันและอยู่ได้ระยะยาว”

คุณเดียร์ - ชีวานันท์ รสหอม, สาขาบางละมุง ชลบุรี

5. บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย

คุณเดียร์ เล่าถึงประสบการณ์การบริหารแฟรนไชส์ว่า ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิดเสมอไป เพราะว่ามีปัจจัยภายนอกเข้ามาแฝงตลอด จะไม่เหมือนกับการบริหารธุรกิจของตัวเอง ที่เรามีอำนาจตัดสินใจเองได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปัจจัยอื่นๆ ภายนอก แต่ในทางกลับกัน การทำธุรกิจแฟรนไชส์นี้ก็สอนให้คุณเดียร์เป็นมืออาชีพในการทำธุรกิจมากขึ้น

ในขณะที่คุณมุ้ยบอกว่า ตัวสินค้าสำหรับธุรกิจ OfficeMate จะได้รับการคัดเลือกและแนะนำสินค้าในร้านมาจากทางแฟรนไชส์ซอร์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจนี้ในสาขาของเราได้ก็คือ ‘การบริการ’ คือจะทำยังไงให้ลูกค้าเกิดความประทับใจแล้วก็เลือกที่จะซื้อสินค้ากับสาขาของเรา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในร้าน เพื่อถ่ายทอดการบริการนี้ไปหาลูกค้า ซึ่งเป็นสองสิ่งที่เราทำควบคู่กัน จนกลายเป็นคีย์หลักที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ

ด้านของคุณปิงเอง ก็ได้เรียนรู้ที่จะกล้าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ อย่างเช่น เรื่องที่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม การซื้อของมาสต๊อกมากขึ้น อีกทั้งต้องมีความเอาใจใส่ เพิ่มเวลามาดูแลธุรกิจ และทำความเข้าใจทีมงาน เพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

คุณมด - ยิ่งวรรณ คันธกุลดุษฎี, สาขาเมือง สุรินทร์

6. ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่สูตรสำเร็จ

คุณมดให้มุมมองในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ว่า จำเป็นจะต้องมีเวลา ไม่ใช่แค่ลงทุนแล้วจ้างคนมารันธุรกิจต่อเท่านั้น เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่จริงๆ เป็นเพียงกึ่งสำเร็จ ที่เราต้องเอาใจใส่ด้วยตัวเราเอง 

คุณมดยังแนะนำต่ออีกว่า “ที่ผ่านมาเราเคยพลาดมาในการที่เราไม่กล้าคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ ดังนั้น อย่าเกรงใจที่จะถาม แต่กลับกันต้องถามให้ละเอียดว่ามีกติกาอย่างไร เงื่อนไขอย่างไรบ้าง เพราะธุรกิจแฟรนไชส์แตกต่างกับดีลเลอร์ ที่จะมีกรอบให้เราจำเป็นต้องทำตามกรอบเหล่านั้น”

คุณแต๋ง - ฐิติตา จียาศักดิ์, สาขาตลาดไท ปทุมธานี 

7. กล้าเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้

คุณซันเล่าว่า ช่วงแรกๆ ที่เข้าไปทำธุรกิจแฟรนไชส์ ตัวเองต้องไปเรียนรู้กับตัวระบบ แต่ก็เชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังเรียนรู้ จะช่วยให้รู้ลึกเกี่ยวกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะตัวเองโตมากับธุรกิจครอบครัว บางทีก็ไม่ได้มีการตรวจสอบที่เป็นระบบ แต่พอได้เรียนรู้ธุรกิจแฟรนไชส์กลับพบว่า ระบบมีการรายงานทุกเดือน มีการตรวจสอบ มีการนับสต๊อก และจากประสบการณ์ทั้งหมดสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจครอบครัวของตัวเองได้ด้วย

ส่วนคุณแต๋งได้เน้นย้ำถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเปิดธุรกิจแฟรนไชส์ นั่นก็คือ การได้เรียนรู้ระบบการทำงานที่มันเป็นระบบระเบียบ การทำงานที่มีการติดต่อกับหน่วยงานราชการ การติดต่อกับสำนักงานตรวจสอบต่างๆ แล้วก็ทำให้เราได้รู้ว่าการค้าขายกับหน่วยงานราชการต้องทำอย่างไร การขาย B2B ต้องทำอย่างไร

คุณวันชัย ตันจารุพันธ์, สาขาแกลง ระยอง

8. หัวใจสำคัญคือ ‘คน’

“คนคือเรื่องที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ถ้าเรารับพนักงานเข้ามา เราต้องดูแลเขาให้ดี สร้างสมดุลระหว่างการกำกับดูแลที่เข้มงวดและความไว้วางใจให้ได้” คุณวันชัย ตันจารุพันธ์, สาขาแกลง ระยอง ได้บอกเล่าถึงสิ่งสำคัญที่ตัวเองได้เรียนรู้จากการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์

ในขณะที่คุณแต๋งก็เห็นว่า พาร์ทเนอร์เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ หรือลูกค้า ซึ่งการมีพาร์ทเนอร์ที่ดี จะช่วยให้เรามี Information ที่ดีตามไปด้วย

9. บริหารร้านด้วย TDED

คุณวัยชัยย้ำถึงการบริหารแฟรนไชส์เสมอว่า ควรมีวิธีคิดแบบ “TDED” โดย

T ย่อมาจาก Trust การทำธุรกิจต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าเชื่อ พนักงานเชื่อใจเราให้ได้
D ย่อมาจาก Dedication ความมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่ท้อถอยง่ายๆ เชื่อและทำในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายให้ได้ ไม่ละสายตาจากมัน
E ย่อมาจาก Empathy ความเอาใจใส่ในทีมงานและลูกค้า ไม่ใช่แค่สิ่งที่เค้าพูดเท่านั้น แต่ต้องมองให้เห็นถึงสิ่งที่เขาไม่ได้พูดด้วยและพยายามตอบสนองความต้องการเหล่านั้นให้ได้
D ย่อมาจาก Decide for Future เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่ออนาคต

ในท้ายที่สุดแม้ว่าทุกท่านจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดร่วมที่ทุกคนมีเหมือนกันเลยคือการมองหาพาร์ทเนอร์มาเพื่อต่อยอดสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น นำจุดแข็งของตัวเองมารวมกับจุดแข็งของทาง OfficeMate Plus+ ซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้เราสามารถทำธุรกิจออกมาได้ดีมากยิ่งขึ้น 

ทิ้งท้ายว่าตอนนี้ทาง OfficeMate Plus+ กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ หากใครสนใจสามารถติดต่อ line: @ofm_plus หรือคลิก https://go.ofm.co.th/4aEyZtA
โทร 099-128-5000 เว็บไซต์ https://www.ofmplus.com

โดยปัจจุบันยังมีระบบการเข้าชมร้านต้นแบบผ่าน Virtual Tour ได้อีกด้วยโดยเข้าไปลองดูได้เลย https://go.ofm.co.th/3tX0UFJ

ขอบคุณเจ้าของธุรกิจ และทายาทกิจการครอบครัวทุกท่านที่มาร่วมพูดคุยกัน
คุณซัน - โสฬส เตียวเดชวรรณ, สาขาเมือง ราชบุรี 
คุณเดียร์ - ชีวานันท์ รสหอม, สาขาบางละมุง ชลบุรี
คุณแต๋ง - ฐิติตา จียาศักดิ์, สาขาตลาดไท ปทุมธานี 
คุณปิง - ธนกร ประยูรกรด, สาขาเมือง ลพบุรี 
คุณมด - ยิ่งวรรณ คันธกุลดุษฎี, สาขาเมือง สุรินทร์
คุณมุ้ย - ทิวากุล เพ็ญศรี วอสสัน, สาขากบินทร์บุรี ปราจีนบุรี  
คุณเมย์ - ธัญรัตน์ คูเพ็ญวิจิตตระการ, สาขาซีเค พลาซ่า ระยอง 
คุณวันชัย - วันชัย ตันจารุพันธ์, สาขาแกลง ระยอง
คุณแวน - วราภร อินทร, สาขา ธัญบุรี คลอง 6